คำเขียนผิดบ่อย

คำว่า “กรกฎาคม” ของ ฎ ชฎา และ ฏ ปฏัก พยัญชนะภาษาไทยที่คนไทยสับสนในการใช้มากที่สุด พบว่า ร้อยละ 26.1 ระบุเป็นตัว "ฎ" รองลงมาคือ ร้อยละ 13.6 ระบุเป็น "ฏ" จากนั้น ร้อยละ 9.8 คือ "ร" และ ร้อยละ 5.8 ระบุเป็น "ฑ" ส่วนร้อยละ 4.5 พบว่าเป็นพยัญชนะ "ณ" และปิดท้ายด้วย "ฐ" สับสนกันอยู่ที่ร้อยละ 4.5 แล้วที่พบว่าผิดบ่อยมากๆก้อมี
1.อนุญาติ

การเขียนที่ถูกต้อง คือ " อนุญาต " ขออนุญาต บน ต ไม่ สระ ิ

คำว่า "ญาติ" หมายถึง "ญาติพี่น้อง" ต้องมี สระ อิ บน ต

2.เท่ห์

เห็นคนเขียน " อย่างเท่ห์ๆ " " เท่ห์มาก " บ่อยๆ เข้า หลายคนสับสนว่า ตกลงมันมี ห์ หรือไม่มีกันแน่

คำว่า เทห์ การเขียนที่ถูกต้อง ต้องเป็น " เท่ " ที่ไม่มี ห์

3.ทยอย เขียนผิดเป็น ทะยอย

กฎหมาย เขียนผิดเป็น กฏหมาย ( คำนี้ ใช้ ฎ สะกด ไม่ใช่ ฏ )

ฎ (ไม่มีหยัก) ใช้กับ กฎหมาย กฎเกณฑ์ กฎกติกา

ฏ (มีหยัก) ใช้กับ ปรากฏการณ์ ปรากฏว่า

สังเกต เขียนผิดเป็น สังเกตุ คำนี้ไม่มีสระ อุ ุ ค่ะ แต่ถ้าเป็น หมายเหตุ ก็จะมีสระอุ ุ

โอกาส เขียนผิดเป็น โอกาศ คำว่า โอกาส ที่ถูกต้อง มี ส เป็นตัวสะกด แต่ อากาศ ต้องสะกดด้วย ศ

4.กฎ
มักเขียนผิดเป็น กฏ

หมายเหตุ กฎ ทุกอย่าง ใช้ ฎ ชฎา ยกเว้น ปรากฏ ใช้ ฏ ปฏัก

5.อเนก
มักเขียนผิดเป็น เอนก

หมายเหตุ มาจาก อน+เอก ตัวอย่างเช่น อเนกประสงค์ อเนกประการ อเนกอนันต์ เว้นแต่วิสามานยนามเช่น เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เอนก นาวิกมูล

Credit แหล่งที่มาของภาพ www.kapook.com

Posts created 50

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top