ภาษีมูลนิธิ

ขอสรุปการเสียภาษีของมูลนิธิ ที่จัดตั้งเป็นนิติบุคคลดังนี้ครับ

1.ถ้าได้รับการประกาศและขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษาว่าเป้นองค์กรสาธารณกุศล ก้อได้รับการยกเว้นภาษี แต่ต้องจัดทำงบการเงิน+ยื่นแบบ ภงด.55และรายงานกิจกรรมมูลนิธิเหมือนเดิม

2.ถ้าเป็นมูลนิธิ ที่จัดตั้งเป็นนิติบุคคลธรรมดา ก้อมีหน้าที่จัดทำงบการเงิน+ยื่นแบบ ภงด.55และรายงานกิจกรรมมูลนิธิต่ออำเภอหรือเขตปกครองท้องที่ตามกฎระเบียบ

แล้วการคำนวณภาษีจะต้องเสียอย่างไร?

การทำหน้าที่รายเดือน

  • ยื่นแบบ ภงด 3
  • ยื่นแบบ ภงด 53
  • ยื่นแบบ ภงด 1

การทำหน้าที่รายปีสิ้นสุดรอบบัญชี

  • ปิดงบและนำส่งงบการเงินต่อกรมสรรพากรท้องที่
  • ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ภงด.55 ต่อกรมสรรพากรท้องที่
  • ยื่นแบบรายงานกิจกรรมมูลนิธิต่ออำเภอหรือเขตปกครองท้องที่ตามกฎระเบียบ

อัตราภาษี

มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องเสียภาษีจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายในอัตรา ดังนี้

(ก) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)-(7) แห่งประมวลรัษฎากร เช่น เงินได้จากดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า ค่าสิทธิ ค่านายหน้า เป็นต้น เสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0

(ข) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้แก่เงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่น ๆ นอกเหนือจาก(ก) เสียภาษีในอัตราร้อยละ 2 .0

การคำนวณภาษี

เมื่อมูลนิธิหรือสมาคมมีรายได้จากการประกอบกิจการจะต้องนำรายได้ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นมาคำนวณภาษี โดยคำนวณจากรายได้ก่อนหักรายจ่าย คูณด้วยอัตราภาษีร้อยละ 10.0 หรือร้อยละ 2.0 แล้วแต่กรณี ผลที่ได้เป็นภาษีที่ต้องเสีย

การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของมูลนิธิหรือสมาคม จะต้องคำนวณตามรอบระยะเวลาบัญชีเช่นเดียวกับ “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล”

ตัวอย่างการคำนวณภาษี

มูลนิธิ ก. มีรายได้จากการประกอบกิจการ และไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ในปี 2555 สมาคมมีรายได้ ดังนี้

(1) ค่าลงทะเบียน 50,000 บาท

(2) เงินที่ได้รับจากการบริจาค 120,000 บาท

(3) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร 10,000 บาท

(4) รายได้จากค่านายหน้า 20,000 บาท

(5) รายได้จากการขายหนังสือ 10,000 บาท

(6) รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สินของมูลนิธิ 20,000 บาท

(7) รายได้จากการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม 60,000 บาท

การคำนวณภาษี

(1) ค่าลงทะเบียน และ
(2) เงินที่ได้รับจากการบริจาคได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาเสียภาษีเงินได้
(3) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร อัตราภาษี 10% = (10,000×10%) = 1,000 บาท
(4) ค่านายหน้า อัตราภาษี 10% = (20,000×10%) = 2,000 บาท
(5) ค่าจำหน่ายหนังสือ อัตราภาษี 2% = (10,000×2%) = 200 บาท
(6) ค่าเช่าทรัพย์สิน อัตราภาษี 10% = (20,000×10%) = 2,000 บาท
(7) ค่าจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม อัตราภาษี 2% = (60,000×2%) = 1,200 บาท

รวมภาษีที่ต้องเสีย 6,400 บาท

Posts created 50

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top